TOP 10 สนามกีฬา ที่มีความจุมากที่สุดในโลก
TOP 10 สนามกีฬาที่มีความจุมากที่สุดในโลก
TOP 10 สนามกีฬาที่มีความจุมากที่สุดในโลก แน่นอนกีฬาฟุตบอลนั้น เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้นๆของโลกมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นในต่างประเทศหรือแม้แต่ในประเทศไทยก็ ก็ยังคงมีฐานแฟนฟุตบอลอยู่ทั่วทุกมุมโลก วันนี้ top-soccer-drills จะพาคุณไปดูว่า สนนามฟุตบอลที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกนั้น จะมีสนามไหนบ้างที่ติด TOP 10 สนามกีฬาที่มีความจุมากที่สุดในโลก จะมีสนามของทีมในใจของคุณหรือไม่ ไปรับชมกันได้เลยครับ
10. สนามกีฬาซอลท์เล็ค | ฟุตบอลทีมชาติอินเดีย
ความจุสนาม : 85,000 ที่นั่ง
Salt Lake Stadium ถูกใช้งานโดยฟุตบอลทีมชาติอินเดีย ก่อนหน้านี้เคยมีความจุกว่า 120,000 ที่นั่ง แต่ถูกตัดออก 35,000 ที่นั่ง ในปี 2554 เพื่อความปลอดภัยของผู้ชมในสนาม สนามกีฬา Salt lake ยังเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย พร้อมกับเป็นเสมือฉากหน้าของวงการกีฬาในอินเดียเลยก็ว่าได้ นอกจากนั้นสนามแห่งนี้ยังเคยเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันฟุตบอล รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปีชิงแชมป์โลกอีกด้วย
9. สนามบอร์ก เอล อาหรับ | ฟุตบอลทีมชาติอียิปต์
ความจุสนาม : 86,000 ที่นั่ง
Borg El Arab มีขนาดรวม 609,000 ตารางเมตร พร้อมรั้วรอบสนามยาวกว่า 3 กิโลเมตรเป็นสนามที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเสนอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ในปี 2010 แต่เป็นแอฟริกาใต้ ที่ถูกเลือกให้เป็นเจ้าภาพในครั้งนั้น อย่างไรก็ตามสนามนี้ก็ได้จัดฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์โลก U20 ในปี 2009 นอกจากจะเป็นรังเหย้าของทีมชาติอียิปต์ ยังเป็นรังเหย้าของ อัล อิตติฮัด และ อัล อาลีห์ นอกจากนั้นสนามแห่งนี้ยังเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 2 ของทวีปแอฟริกาอีกด้วย
8. สนาม เอสตาดิโอ อัสเตก้า | ทีมชาติเม็กซิโก
ความจุสนาม : 87,000 ที่นั่ง
Estadio Azteca สนามฟุตบอลที่ตั้งอยู่ในย่าน ซานตาอูร์ซูลา เมืองเม็กซิโกซิตี้ ก่อสร้างขึ้นในช่วงปี 1961 โดยใช้งบประมาณราว 260 ล้านเปโซเม็กซิกัน เป็นสนามที่เม็กซิโก ใช้งานในฟุตบอลโลก 1986 และโอลิมปิก 1986 และนี่เป็นสังเวียนที่ยอดดาวเตะอย่าง ดีเอโก้ มาราโดน่า ยิง 2 ประตูใส่ ทีมชาติอังกฤษ ในฟุตบอลโลก 1986 หนึ่งในนั้นคือตำนานหัตถ์พระเจ้า ก่อนหน้านี้สนามมีความจุมากถึง 110,000 ที่นั่ง ปัจจุบันเป็นรังเหย้าของสโมสร คลับ อเมริกา ทีมดังในลีกเม็กซิโก
7. สนามกีฬาแห่งชาติบูกิต จาลิล | ทีมชาติมาเลเซีย
ความจุสนาม : 87,411 ที่นั่ง
Bukit Jalil สนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน พร้อมกับใหญ่ที่สุดเบอร์ 3 ของเอชียถูกสร้างขึ้นเพื่อการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพในปี 1998 ซึ่งในปัจจุบัน การเดินทางมายังสนามแห่งนี้ได้สะดวกสบายด้วยการเดินทางโดยรถไฟฟ้าแอลอาร์ ทีมชาติมาเลเซีย ใช้เป็นรังเหย้าในการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญ ล่าสุดกับ ทีมชาติไทย ในฟุตบอล AFF 2023 รอบรองชนะเลิศนัดแรก เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งทัพช้างศึกกลับมาด้วยความพ่ายแพ้ 0-1
6.สนามเวมบลีย์ | ทีมชาติอังกฤษ
ความจุสนาม : 90,000 ที่นั่ง
Wembly Stadium ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1923 เพื่อเป็นรังเหย้าของทีมชาติอังกฤษ ในการแข่งขันฟุตบอลรายการต่างๆ ด้วยความจุระดับ 90,000 ที่นั่ง พร้อมกับหากนับจำนวนแฟนบอลที่ยืนชมเกมแบบไม่มีที่นั่งแล้ว สนามแห่งนี้จะสามารถรองรับแฟนบอลได้มากถึง 105,000 คน และสนามแห่งนี้ยังเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 2 ของทวีปยุโรปอีกด้วย ซึ่งงบประมาณในการต่อสร้างสนามแห่งนี้ ลงทุนลงแรงไปมากถึง 900 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 45,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
5.สนามโรส โบลว์ | ทีมชาติสหรัฐ
ความจุสนาม : 90,888 ที่นั่ง
Rose Bowl ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 1922 ในย่านชานเมืองของพาซาดีนา แคลิฟอร์เนีย พร้อมกับเปิดใช้งานทันทีในปีถัดมา ซึ่งแน่นอนว่าหากนับถือปัจจุบันนี่คือ 1 ในสนามที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งใน อเมริกา ซึ่งปัจจุบันด้วยความนิยมของ อเมริกันฟุตบอลในสหรัฐ ทำให้สนามนี้กลายเป็นรังเหย้าของทีม UCLA Bruins ซึ่งสนามแห่งนี้เองก็เคยได้เป็นรังเหย้าของทีมฟุตบอลของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
4.เอฟเอ็นบี สเตเดี้ยม | ไกเซอร์ ชีฟ |
ความจุสนาม : 94,736 ที่นั่ง
FNB Stadium สนามฟุตบอลที่ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ 1986 พร้อมกับเปิดใช้งานในอีก 3 ปีต่อมา ในบริเวณโซวีโต เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ ด้วยงลประมาณมากถึง 440 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และสนามแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงในปี 2009 เพื่อให้ถูกใช้งานในฟุตบอลโลก 2010 ทั้งนัดเปิดสนามและรอบไฟน่อล เป็นรังเหย้าของสโมสร ไกเซอร์ ชีฟ ยอดทีมของแอฟริกาใต้ และเป็นรังเหย้าของทีมชาติแอฟริกาใต้ อีกด้วย
3.สนาม คัมป์ นู | บาร์เซโลน่า
ความจุสนาม : 99,354 ที่นั่ง
Camp Nou สนามเหย้าของยอดทีมฟุตบอลระดับโลกอย่าง บาร์เซโลน่า ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้น กาตากุญญา ประเทศสเปน สนามแห่งนี้ก่อสร้างขึ้นในช่วงปี 1954 ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างยาวนาน 3 ปี ซึ่งสนามแห่งนี้ถือเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสเปนและใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ซึ่งปัจจุบันสนามแห่งนี้ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Spotify Camp Nou ซึ่งเป็นการเปลี่ยนชื่อสนามด้วยเงื่อนไขของผู้สนับสนุน และสนามแห่งนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งในเกมฟุตบอลโลกเมื่อ 1982 อีกด้วย
2.สนาม เมลเบิร์น คริกเก็ต | ทีมชาติออสเตรเลีย
ความจุสนาม : 100,024 ที่นั่ง
Melbourne Cricket Ground สนามกีฬาชั้นแนวหน้าของออสเตรเลียที่ดึงดูดแฟนบอลจำนวนมากในเข้าชมเกมแข่งขัน เป็นรังเหย้าของสโมสร เมลเบิร์น ทีมคริกเก็ตชื่อดังของออสเตรเลีย เคยถูกใช้งานในโอลิมปิก 1956 รอบไฟน่อลระหว่าง สหภาพโซเวียต กับ ยูโกสลาเวีย (คริกเก็ต) นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นรังเหย้าของ ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย พร้อมกับเคยจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกของ FIFA
1.สนาม Rungrado 1st of May | ทีมชาติเกาหลีเหนือ
ความจุสนาม : 114,000 ที่นั่ง
Rungrado 1st of May หรือสนามกีฬาที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า สนามเมย์เดย์ ก่อตั้งที่กรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งฉายาสนามเมย์เดย์ นั่นถูกกล่างขึ้นมาเนื่องจากสนามแห่งนี้สร้างเสร็จในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งสนามแห่งนี้กลายเป็น 1 ในสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 50 เอเคอร์ ซึ่งหากนับในเรื่องของการใช้ประโยชน์ถือว่าสนามแห่งนี้ถูกใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อยเนื่องจากในเกาหลีเหนือเอง ยังไม่มีความนิยมในการจัดการแข่งขันต่าง ๆ มากนัก
ติดตาม : ผลบอลสด
เพิ่มเติม : จัดอันดับฟุตบอล